Monday, December 5, 2016

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9



พระราชดำริและพระราชกรณียกิจที่สำคัญและสมควรได้รับการกล่าวถึงเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตร ได้แก่ 

1. ทฤษฎีการพัฒนาการเกษตรแบบ "พึ่งตนเอง" และ "เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาเพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบพี่งตนเอง (Self Reliance) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 โดยทรงเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญ และมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร ก่อน เป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวพระราชดำริที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงชนิดเดียว เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูง เนื่องจากความแปรปรวนของราคา และความไม่แน่นอน ของธรรมชาติ ทางออกก็คือ นอกจากจะปลูกพืชหลายชนิดแล้ว เกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปัจจุบัน (สำนักงาน กปร., 2542) 

2. ทฤษฎีใหม่ : แนวทางการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 15 ไร่ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเหมาะสม ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้มีรายได้ไว้ใช้จ่ายและมีอาหารไว้บริโภคตลอดปี (กรมวิชาการ, 2539: 77) ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อการผลิตทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า "…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…" (สำนักพระราชวัง, 2542: 31)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ในพื้นที่ส่วนพระองค์ขนาด 16 ไร่2 งาน23 ตารางวาใกล้วัดมงคล ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมโครงการของรัฐ ทั้งนี้ก่อนที่จะทรงนำเอกสารออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2537 นั้น ทรงให้จัดตั้ง "ศูนย์บริหารพัฒนา" ตามแนวพระราชดำริ อยู่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรโดยประสานความร่วมมือระหว่าง วัด ราษฎรและรัฐ ทำการเผยแพร่อาชีพการเกษตรและจริยธรรมแก่ประชาชนในชนบท โดยทรงหวังว่าหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางสาธิตในท้องที่อื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาด้านการเกษตรนั้น ก็คือแนวคิดและมรรควิธีที่รู้จักกันในนาม "เกษตรทฤษฎีใหม่" (อำพล,2542: 3-4)


พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ 1 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น) 


ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2542)


ขั้นที่2 ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน

1. การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
2. การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
3. ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
4. สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
5. การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
6. สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว

กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ขั้นที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุรกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
Credit : kapook.com

Sunday, July 31, 2016

Mother's day

วันแม่แห่งชาติ

    วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแม่ ภาษาอังกฤษ คือ Mother Day ซึ่งวันนี้ถือตามวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูก ๆ ทุกคนควรรำลึกถึงพระคุณของแม่  

    ประวัติวันแม่แห่งชาติ


          ประวัติวันแม่แห่งชาติ แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป  

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ  

          ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน 
 

                    สัญลักษณ์ของวันแม่                               

      




Thursday, June 23, 2016

แนะแนวการศึกษาต่อ



คณะอักษรศาสตร์/ศิลปศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์ 
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาจิตใจประชากรโดยส่วนรวม
กล่าวคือ พยายามทำให้เข้าใจตนเอง ผู้อื่น สังคม และสภาพแวดล้อม รู้ซึ้งถึงคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม มีจิตใจละเอียดอ่อนมีวิจารณญาณ มีสติปัญญาแตกฉานและรสนิยม รู้จักใช้ความรู้และสติปัญญาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันคนทั่วไปมักมองเห็นว่าวิชาอักษรศาสตร์ฯ มีความสำคัญด้อยกว่าวิชาการด้านอื่น ๆ
แท้จริงแล้ววิชานี้มีความสำคัญมาก แต่มองเห็นได้ยาก
เพราะมีคุณค่าและลักษณะเป็นนามธรรม วิชาต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ฯ มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวความคิดและพฤติกรรมทางสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ความรู้ซึ้งในเรื่องเหล่านี้จะเป็นทั้งพื้นฐานและประสบการณ์ที่จะช่วยให้มนุษยืเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าได้
ซึ่งพอจะแบ่งสาขาการเรียนออกได้ดังนี้ 

สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษาประวิติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ของ
ภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนวิธีค้นคว้าวิจัยทางประวัติศาสตร์
สาขาวิชาภูมิศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนเทคนิคในทางภูมิศาสตร์ และการทำแผนที่ 
สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ศึกษาในด้านทฤษฎีและปฏิบัติทาง
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 
สาขาวิชาปรัชญา ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมา หลักการ แนวคิด และผลกระทบของปรัชญาต่าง ๆ สาขาวิชาศิลปการละคร ศึกษาเกี่ยวกับการละครในด้านเวที ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ตลอดจนประวัติและวรรณคดีของการละคร สาขาวิชาภาษาไทย ศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยและวรรณคดี โดยผู้ศึกษาจะเลือกเน้นหนักอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ สาขาวิชาภาษาบาลี และสันสกฤต ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและรายละเอียดของภาษาบาลี และสันสกฤต เพื่อยกมาประกอบการศึกษาคำไทย ทั้งที่ใช้อยู่ในวรรณคดี และที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งศึกษาโครงสร้างคำบาลีและสันสกฤต เพื่อจะได้บัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ในภาษาไทยได้ตลอดจนศึกษาวรรณคดี และวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีภาษาสันสกฤต เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับวัฒนธรรมและประเพณีไทยได้
      นอกจากนี้ยังมี
สาขาวิชาภาษาต่างประเทศให้เลือกศึกษาอีกมากมาย อาทิ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส สาขาวิชาภาษาเยอรมัน สาขาวิชาภาษาสปน สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน สาขาวิชาจีนกลาง ซึ่งการเรียนสาขาภาษาต่างประเทศแต่ละสาขานั้นจะศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาในด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การแปล ตลอดจนศึกษาวรรณคดี และศิลปวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ                           
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 
ผู้ที่จะเข้าศึกษาในคณะนี้ควรมีคุณสมบัติในด้านอารมณ์ ความคิด และแนวโน้มที่เหมาะสมกับลักษณะวิชา มีความรัก ความสนใจ ความสนใจในภาษา ชอบการอ่าน การเขียนและการค้นขว้า การศึกษาในคณะนี้มุ่งที่จะพัฒนาความคิดและปัญญามากกว่าจะเป็นวิชาที่จะเตรียมตัวไปสำหรับการประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่งโดยตรง 
                         

แนวทางในการประกอบอาชีพ 
บัณฑิตส่วนใหญ่จะมีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่ใช้งานได้ดี ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศถึง 2 ภาษา ทำให้สามารถทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาต่างประเทศในวงราชการ วงการธุรกิจ วงการบันเทิง และงานด้านเอกสารต่าง ๆได้ดี เช่น เป็นอาจารย์และนักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิจัยเลขานุการ เจ้าหน้าที่สารนิเทศ เจ้าหน้าที่ต้อนรับในบริษัทการบิน มัคคุเทศก์ ล่าม นักแปล พนักงานธนาคาร และสถาบันการเงิน นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่งานแผนที่และผังเมือง นักแสดง บรรณารักษ์ และประกอบอาชีพส่วนตัว เป็นต้น